ทุกครั้งที่เราอยู่บนท้องถนนและได้เห็นบุคคลอาชีพหนึ่งซึ่งใช้มอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะ จากลักษณะการแต่งกายด้วยสีสันคล้ายคลึงกันทำให้ทราบว่าพวกเขาคือ “พนักงานส่งเอกสาร” หรือที่นิยมเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “เมสเซนเจอร์” การทำงานแข่งกับเวลาทำให้ต้องใช้พาหนะความคล่องตัวสูง เพื่อลัดเลาะไปตามแถวรถยนต์ขณะจราจรติดขัดให้ถึงที่หมายตามกำหนด แต่จะมีใครนึกบ้างหรือไม่ว่านอกจากมอเตอร์ไซค์ที่เราเห็ฯกันเจนตาแล้ว จักรยานก็เป็นพาหนะของบรรดาเมสเซนเจอร์เหมือน เคยเป็นมาก่อนจะมีมอเตอร์ไซค์และยังใช้กันอยู่ในหลายเมืองใหญ่ของสหรัฐฯและยุโรป
เรื่องของเรื่องคือหลังจากมนุษย์คิดค้นจักรยานเพื่อทุ่นแรงในการเดินทางเมื่อปลายศตวรรษที่ 18 จักรยานได้ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันหลายหน้าที่ หนึ่งในหน้าที่เท่าที่มนุษย์จะคิดได้คือการส่งเอกสารระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในหนังสือประวัติศาสตร์จักยานที่เดวิด เฮอร์ลิฮี (David Herlihy มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1930-1931) ตีพิมพ์เมื่อปี 2005 ได้ระบุไว้ว่าอาชีพเมสเซนเจอร์จักยานนี้มีมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 แล้ว ตลาดหุ้นแห่งกรุงปารีสได้เริ่มใช้พาหนะชนิดนี้เพื่อส่งเอกสารในทศวรรษ 1870 บริษัทเวสเทิร์นยูเนียนคือเจ้าแรกที่นำจักยานส่งเอกสารมาใช้ในมหานครนิวยอร์ก และบริเวณย่านการค้า, ชุมชนหนาแน่นทั่วไป นับแต่นั้น อาชีพเมสเซนเจอร์จักรยานก็กำเนิดขึ้นในสหรัฐ เริ่มที่นิวยอร์ค
มันไม่กินหญ้า ไม่ป่วย น้ำหนักเบา ไม่ต้องบำรุงรักษามากเพราะอุปกรณ์ไม่สลับซับซ้อน ไม่มีเกียร์!
ที่กล่าวข้างต้นนั้นจริง และในเมื่อจักรยานคือพาหนะและมนุษย์คือต้นกำเนิดแรงขับเคลื่อน จึงสามารถเลือกสรรมันได้หลายรูปแบบ ทั้งจักยานถนน (มีแฮนด์เหมือนเสือหมอบ แต่โครงสร้างและระบบขับเคลื่อนแตกต่าง), จักรยานไฮบริด (ลูกผสมระหว่างเสือภูเขากับจักยานถนน ใช้ขี่ในเมือง), จักรยานภูเขา หรือแม้แต่บีเอ็มเอ็กซ์ แม้จะมีเกียร์ให้ใช้อย่างสะดวกสบาย แต่พนักงานส่งเอกสารปัจจุบันยังเลือกใช้จักรยานเฟืองเดี่ยวอยู่ จักรยานแข่งในลู่ก็เป็นที่พิสมัยด้วยเหตุผลคือน้ำหนักเบา ราคาไม่แพง ขี่ง่าย และแทบไม่ต้องซ่อมเลยนอกจากจะหยอดน้ำมันและจารบีเป็นครั้งคราว
นอกจากจักรยานแล้วเมสเซนเจอร์ยังใช้อุปกรณ์ประกอบอีกชนิด คือเป้สะพายเฉียงใส่เอกสารและสิ่งของอื่นแบบมีสายสะพายแถบเดียวพาดจากไหล่ข้างหนึ่งมายังเอวอีกข้าง เพื่อความคล่องตัวในการสวมและถอด ล้วงหยิบของได้โยไม่ต้องจอดจักรยานหรือถอดเป้จากตัว แทบไม่ต่างจากกระเป๋าของคนอาชีพเดียวกันในบ้านเราที่ใช้มอเตอร์ไซค์ แต่ความพิเศษของเป้เฉพาะอาชีพนี้คือมันมีช่องใส่ของที่ออกแบบไว้นองความต้องการยามเคลื่อนไหว ให้เจ้าของล้วงหยิบโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือวิทยุพูดสองทางได้ด้วยมือข้างเดียว ขยายขนาดได้ด้วยซิปเพื่อให้ขนของได้มาก ประมาณว่าเป้ใหญ่ ๆ นั้นมีความจุถึง 50 ลิตรหรือ 3,000 ลูกบาศก์นิ้ว ยัดกระดาษ A4 ได้ 10 ห่อสบาย ๆ!
มหานครนิวยอร์คคือเมืองที่ใช้เมสเซนเจอร์จักยานหนาตาที่สุด เนื่องจากการจราจรคับคั่ง แม้แต่มอเตอร์ไซค์ที่ว่าคล่องตัวแล้ว ยังแทรกตัวลำบาก การสื่อสารในหมู่พนักงานส่งเอกสารใช้อุปกรณ์เท่าที่หาได้ทั้งโทรศํพท์เคลื่อนที่หรือวิทยุพูดสองทาง (วอล์คกี้-ทอล์คกี้) สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างคือกุญแจล็อกจักรยานกันหาย สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของคนอาชีพนี้คือมีซ่าพร้อมกุญแจคล้องไว้รอบเอว ไม่เพียงแต่ใช้ล็อกแต่ยังใช้เป็นอาวุธได้อีกสำหรับคนขับรถยนต์ผู้มีทีท่าคุกคาม (ใช้ฟาดตัวถัง, กระจก ฯลฯ)
ด้วยพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ทั้งอินเตอร์เน็ตและอี-เมลได้ทำให้ผู้ประกอบอาชีพส่งเอกสารด้วยจักยานบางตาลง แต่พัสดุภัณฑ์บางชิ้นที่ส่งทางอิเลคทรอนิคส์ไม่ได้ก็ยังต้องใช้แรงงานมนุษย์ อาชีพส่งเอกสารด้วยจักรยานก็ยังมีให้เราได้พบเห็นอยู่ประปราย มันเป็นอาชีพสำหรับคนหนุ่มสาว, นักศึกษาผู้รักความท้าทายและตื่นเต้นบนท้องถนน แม้อัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของคนอาชีพนี้จะค่อนข้างสูง แต่ก็ยังมีผู้หลงใหลความท้าทายกับการขี่จักรยานในเมืองประกอบอาชีพนี้อยู่
ขอขอบคุณ นิตยสารสปอร์ตสตรีท
ถ้าเป็นบ้านเราคงทำไม่ได้หรอก เพราะสภาพอากาศ ช่องทางการขับขี่จัักรยานก้อไม่สะดวก ความปลอดภัยในการขับขี่ก้อไม่มี
ReplyDelete